Loading...

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง

Provincial Office of Natural Resources and Environment Rayong

ขนาดอักษร
เปลี่ยนการแสดงผล C C C
TH EN

ร่วมติดตามตรวจสอบและเก็บตัวอย่างน้ำ กรณีเรื่องร้องเรียนน้ำเสียของ หจก. โชคทองคำ ทรานสปอร์ท รั่วไหลออกนอกโรงงาน

ร่วมติดตามตรวจสอบและเก็บตัวอย่างน้ำ กรณีเรื่องร้องเรียนน้ำเสียของ หจก. โชคทองคำ ทรานสปอร์ท รั่วไหลออกนอกโรงงาน
วันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 น.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง ลงพื้นที่ร่วมกับอำเภอนิคมพัฒนา นำโดยนางสาวกัลยา ประสิทธิ์ภาคย์ นายอำเภอนิคมพัฒนา พร้อมด้วยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี) ศูนย์ควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง องค์การบริหารส่วนตำบลพนานิคม ผู้นำชุมชน และเครือข่าย ทสม. กลุ่มเฝ้าระวังน้ำผิวดินจังหวัดระยอง เพื่อติดตามตรวจสอบเส้นทางที่น้ำเสียรั่วไหลออกจากโรงงานปรับปรุงคุณภาพยิปซั่มสังเคราะห์ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคทองคำ ทรานสปอร์ท ตั้งอยู่บริเวณหมู่ที่ 3 ตำบลพนานิคม อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า มีร่องรอยน้ำเสียรั่วไหลออกทางด้านข้างของโรงงาน เข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน และไหลลงคลองสาธารณะที่อยู่บริเวณใกล้เคียง (คลองตาทัย) แต่ปัจจุบันโรงงานได้ทำการปิดกั้นมิให้น้ำเสียรั่วไหลออกสู่ภายนอกพื้นที่โรงงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในการนี้ สคพ.13 (ชลบุรี) ได้เก็บตัวอย่างน้ำไปตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อน จำนวน 4 จุด ได้แก่
1) บ่อพักน้ำฝนปนเปื้อนน้ำเสียที่อยู่ในโรงงาน ซึ่งตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พบว่า มีค่า pH = 7.3 ค่า DO = 2.4 mg/l และค่า TDS = 437 mg/l (สภาพน้ำมีสีดำคล้ำและมีกลิ่นเหม็น)
2) ร่องน้ำในสวนยางพาราของชาวบ้านที่อยู่ติดกับโรงงาน ซึ่งตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พบว่า มีค่า pH = 7.4 ค่า DO = 1.5 mg/l และค่า TDS = 1,220 mg/l (สภาพน้ำมีสีดำคล้ำและมีกลิ่นเหม็น)
3) บ่อเลี้ยงปลาของชาวบ้านที่อยู่ใกล้กับโรงงาน ซึ่งตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พบว่า มีค่า pH = 7.3 ค่า DO = 2.3 mg/l และค่า TDS = 696 mg/l (สภาพน้ำค่อนข้างขุ่นและมีตะกอนลอย)
4) คลองตาทัยบริเวณฝายน้ำล้นก่อนถึงอ่างเก็บน้ำดอกกราย ซึ่งตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พบว่า มีค่า pH = 7.4 ค่า DO = 5.4 mg/l และค่า TDS = 140 mg/l (สภาพน้ำเป็นปกติ)
ทั้งนี้ สำนักงานฯ ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการเร่งสูบน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นที่ของชาวบ้านกลับเข้าในโรงงาน พร้อมทั้งบำบัด ฟื้นฟู และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด ประกอบกับหน่วยงานที่กำกับดูแลโรงงานดังกล่าวจะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดอย่างเคร่งครัดต่อไป

แกลเลอรี่